ReadyPlanet.com
dot
dot


  [Help]
dot


เมื่อสุนัขที่คุณรัก...ก้าวสู่...วัยชรา

เมื่อสุนัขที่คุณรัก... ก้าวสู่ ... วัยชรา

เมื่อสุนัขเข้าสู่วัยชรา

                โดยทั่วไปเรามักได้ยินว่าสุนัขที่อายุมากกว่า 7 ปี  ถือเป็นสุนัขวัยชรา  แต่ในความเป็นจริง ยังมีปัจจัยเรื่องขนาดและสายพันธุ์สุนัขเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  นอกจากนั้น น้ำหนักตัวสุนัข  อาหารที่ได้รับ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพโดยรวมของตัวสุนัขเองก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความชราของสุนัขด้วยเช่นกัน

                ความชราของสุนัขอาจสังเกตได้จากการเริ่มมีขนสีขาวหรือสีเทาขึ้นรอบๆ ตา ปลายคาง และจมูก  ดวงตาเริ่มขุ่น ไม่สดใจ เคลื่อนไหวเชื่องช้า หรือแข็งเกร็ง  นอกจากนี้ความชรายังนำมาซึ่งความอ่อนแอ  การเจ็บป่วย  ตลอดจนโรคและความผิดปกติหลายๆ อย่างมาสู่สุนัข  ทำให้วัยชราต้องการการดูแลเอาใจใส่ที่มากขึ้นกว่าเดิม

 

ปัญหาด้านสุขภาพ ที่มักพบในสุนัขสูงวัย

-           ระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับระดับไทรอยด์

-           ระบบหมุนเวียนโลหิต เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตต่ำ

-           ระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างของร่างกาย เช่น โรคข้อเสื่อม

-           ระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคปริทนต์  ท้องผูก  ตับอ่อนอักเสบ

-           ระบบห่อหุ้มร่างกาย เช่น เนื้องอกที่ผิวหนัง โรคผิวหนัง

-           ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ภาวะไตวาย  การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

-           ระบบสืบพันธุ์ (โดยเฉพาะในสัตว์ที่ไม่ได้ทำหมัน)  เช่น ต่อมลูกหมากโต  มดลูกอักเสบเป็นหนอง  เนื้องอกที่เต้านม

-           ระบบทางเดินหายใจ

-           ระบบประสาทและประสาทสัมผัส  เช่น ต้อกระจก  ต้อหิน  การเสื่อมของจอประสาทตา  การสูญเสียการมองเห็น หรือการได้ยิน

 

สิ่งบ่งชื้นถึงความผิดปกติ  ที่เกี่ยวข้องกับความชรา

ลักษณะทางกายภาพเปลี่ยน

-           เดินกระเผลก  ขาแข็ง  ขาหลังไม่มีแรง

-           ไม่อยากเดิน  หรือออกกำลัง

-           หู-ตาฝ้าฟาง

-           มีกลิ่นปาก  เหงือกอักเสบ  ฟันผุ

พฤตกรรมเปลี่ยน

-           ความกระตือรือร้นในกิจกรรมต่างๆ ลดลง

-           ปฎิสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวลดลง

-           นอนมากผิดปกติ  หรือชอบนอนกลางวันและตื่นตอนดึก

-           ความจำเสื่อม  บางครั้งหลงทาง หรือหลงลืม

-           การตอบสนองต่อการเรียกชื่อของสัตว์ช้าลง

เมตาโบลิกเปลี่ยน

-           น้ำหนักลด

-           สุขภาพผิวเปลี่ยน เช่น ผิวหนังแห้ง  และขนหยาบกระด้าง

-           อุปนิสัยการกินเปลี่ยนไป

-           ปัสสาวะบ่อยขึ้น

ในบางกรณีอาการที่แสดงออกเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจากความชราเพียงอย่างเดียว  ดังนั้นควรสังเกตอาการร่วมกับการปรึกษาสัตวแพทย์

 

ขั้นตอนการตรวจเบื้องต้นสำหรับสุนัขชรา

-           ตรวจร่างกายทั่วไป (วัดอุณหภูมิ  ชั่งน้ำหนัก  ฟังเสียงหัวใจและปอด  ตรวจหู ตา และฟัน  ตรวจขนและผิวหนัง  ตรวจต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น)

-           ตรวจนับเม็ดโลหิต  เพื่อดูภาวะโลหิตจาง  การติดเชื้อ  การแข็งตัวของเลือด  เซลล์มะเร็ง เป็นต้น

-           ตรวจค่าทางชีวเคมีของโลหิต  เพื่อตรวจดูภาวะการทำงานของตับไต ตับอ่อน และอวัยวะสำคัญอื่นๆ

-           ตรวจปัสสาวะ  เพื่อดูการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และภาวะการเกิดก้อนนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

-           ตรวจอุจจาระ  เพื่อตรวจหูพยาธิ  โปรโตซัว  และแบคทีเรียที่ผิดปกติ  ตรวจดูการปนเปื้อนของเลือดในอุจจาระ  ตรวจความผิดปกติของทางเดินอาหาร

-           การตรวจอื่นๆ  อาจมีการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การ X-Ray  ตรวจคลื่นหัวใจ  ตรวจ Ultrasound  ตามความเห็นเพิ่มเติมของสัตวแพทย์ผู้ตรวจ

 

การดูแลสุนัขชรา

                สุนัขชราแต่ละตัวต้องการการดูแล หรือเวชภัณฑ์ที่แตกต่างกันไป  ดังนั้นเจ้าของจึงควรพาสุนัขที่เข้าสู่วัยชราไปตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง  การพาสุนัขไปตรวจร่างกายบ่อยขึ่น  จะช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง  เนื่องจากเราจะตรวจพบและแก้ไขความผิดปกติได้ตั้งแต่แรกเริ่ม

 

ขอขอบคุณ บทความนี้จาก บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

 




บทความที่น่าสนใจ

พิษ...พาราเซตามอล "ในแมว"
โรคหวัดหลอดลมอักเสบติดต่อ
โรคเลปโตสไปโรซิล (โรคฉี่หนู)
โรคตับอักเสบติดต่อ
โรคพิษสุนัขบ้า
โรคลำไส้อักเสบติดต่อ
โรคไข้หัดสุนัข



อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
ที่อยู่ : อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
โทร : 091-0042406 Line : goods4pets