ยาพาราเซตามอล เป็นยาระงับปวดและลดไข้ที่ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ตั้งแต่ พ .ศ. 2436 แต่ได้รับความนิยมเมื่อ 50 ปีหลังจากนั้น ซึ่งยาพาราเซตามอลเป็นยาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในคนเนื่องจากมีข้อดีกว่า แอสไพรินคือไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารจึงไม่ทำให้ เกิดแผลหลุมในกระเพาะอาหารและไม่มีผลต่อการเกาะตัวของเกล็ดเลือด จึงไม่ทำให้การแข็งตัวของเลือดเสียไปแต่ว่ายาพาราเซตามอลไม่มีผลในการลดการ อักเสบเหมือนแอสไพรินจึงไม่สามารถใช้ในการลดการอักเสบของระบบกล้ามเนื้อและ กระดูกหรือข้ออักเสบได้
จากการที่ยาพาราเซตามอลเป็นยาสามัญประจำ บ้านที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ จึงทำให้คนนิยมใช้ เพราะหยิบฉวยได้ง่าย และคิดว่าเป็นยาที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ข้อความนี้อาจเป็นจริงในคนเมื่อใช้ในขนาดที่แนะนำแต่ไม่เป็นความจริงใน สัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะแมว
ในแมว พาราเซทตามอล จะทำให้เกิดความผิดปกติในระบบเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถขนส่งอ๊อกซิเจนได้ หลังจากได้รับยาเข้าไปจะค่อยมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในตอนแรกจะไม่สังเกตความผิดปกติ แต่ในตอนท้ายแมวจะแสดงอาการหอบ หน้าบวม หากได้รับปริมาณไม่มากสัตวแพทย์อาจแก้ไขโดยการรักษาได้ แต่หากได้รับในปริมาณมากมักตายใน 24-48 ชั่วโมง สัตว์ในตระกูลเดียวกับแมวเช่นพวกเสือก็อาจเกิดพิษได้เช่นกัน จริงๆแล้วส่วนใหญ่จะไม่แนะนำให้ใช้พาราฯกับสัตว์เลี้ยง 
“จากสถิติของศูนย์ควบคุมความเป็นพิษในสัตว์แห่งชาติของสหรัฐ อเมริกา พบว่าความเป็นพิษจากยาที่เกิดขึ้นในแมว 50 % มีสาเหตุมาจากยาพาราเซตามอล”
ส่วนการเกิดพิษในสุนัขมักทำให้เกิดพิษต่อตับ โดยพบบ่อยว่าเจ้าของสุนัขให้พาราฯ 500 มก.กับสุนัขครั้งละ 2 เม็ด( สุนัขน้ำหนักประมาณ 20 ก.ก.) ประมาณ 3-4 ครั้งในระยะเวลาประมาณ 3 วัน ทำให้สุนัขเสียชีวิตได้ ( สุนัขอาจมีอาการป่วยอย่างอื่นร่วมอยู่ด้วย) บางตัวจะแสดงอาการดีซ่านตัวเหลืองด้วย
เจ้าเหมียวมีอาการอย่างไร?
- เกิดความเป็นพิษได้แม้ให้กินเพียง 1 /4 เม็ด
- ซึม
- หน้า ฝ่าเท้าและหนังตาบวม
- เหงือกสีม่วงคล้ำ
- หายใจไม่ออก หัวใจเต้นเร็ว และตายในที่สุด
อาการของความเป็นพิษ อาจเกิดได้รวดเร็วภายใน 1 – 4 ชั่วโมง หลังจากการกินหรือช้ากว่านั้นอาการในแมวเกิดเนื่องจากเม็ดเลือดไม่สามารถ จับกับออกซิเจนได้ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการใช้ออกซิเจนของเนื้อ เยื่อในร่างกาย หากเมื่อเจาะเลือดตรวจจะพบเลือดมีสีคล้ำคล้ายกับสีของช็อกโกแลต
ทำอย่างไรเมื่อแมวเกิดอาการเป็นพิษ ให้รีบทำการขจัดพิษออกจากร่างกายดังนี้
- กระตุ้นให้อาเจียนถ้าได้รับยาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
- ป้อนไข่ขาวหรือน้ำเกลืออุ่นด้วยความระมัดระวัง
- หลังจากนั้นให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ เพื่อรับการรักษาต่อไป
